7 เคล็ดลับ เขียนหัวข้อโฆษณา

1.  รวมคำค้นหา

หลายคนอาจจะเคยเจอการโฆษณาที่มันคลุมเครือ คือการใช้จำนวนคำมากมายที่ไม่เจาะจงคำค้นหา หรือ "Keywork" แน่นอน ถ้าเราใช้คำค้นหาที่ไม่ตรงจุด ใครจะเสียเวลามาคลิก ในเมื่อโฆษณาตัวนั้น ไม่มีคำที่เขาสนใจ  จริงมั้ย?




2. ใช้ประโยค "ตั้งคำถาม"

แน่นอนว่าผู้ชมที่กำลังค้นหาข้อมูลไม่ว่าจะใน google หรือ youtube หรือเว็บไซต์ใดๆ ก็ตาม แสดงว่าเขาต้องการข้อมูลเพื่อสนองความไม่รู้ เขาจึงต้องค้นหา การใช้ลูกเล่นพาดหัวที่ขึ้นตัวด้วยคำถาม จะทำให้ผู้ชม รู้สึกถึงความเป็นพวกเดียวกัน  เช่น
"เซรั่มหน้าใส Grassy คืออะไร"
"ถ้านอนหลับ แต่ผิวกลับใสขึ้น...ก็ดีสิ"  > (ทำให้เกิดความสงสัย)
"งานออนไลน์GDI คืออะไร"
"ทำได้ยังไง ปรับผิวคล้ำให้ใส ชั่วข้ามคืน" เป็นต้น

3. แก้ปัญหาของผู้สนใจ

มีคำกล่าวนึงของผู้เขียนหนังสือขายดี บน Google Ads  กล่าวไว้วา
"ผู้คนไม่ต้องการซื้อสิ่งต่างๆ  แต่แท้จริงแล้ว เขาต้องการแก้ปัญหาของเขาเองต่างหาก
และพบว่า ผู้คนมักสนใจโฆษณา ที่ระบุการแก้ปัญหา 1 ข้อ มากกว่าบรรยายสรรพคุณ 100ข้อ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

4. เพิ่มอารมณ์ขันเล็กน้อย

ส่วนมากเจ้าของสินค้า/บริการ มักจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับโฆษณาของคู่แข่งประเภทเดียวกับกันตน  แต่ผู้บริโภค หรือกลุ่มเป้าหมายของสินค้า/บริการของคุณ ไม่ได้สนใจเรื่องนั้น เพราะสิ่งที่เขาเจอกับตัวคือ  โฆษณาหลายสิบรายการที่ทำโฆษณาออกมาคล้ายกัน ต่างกันแค่เปลี่ยนคำพาดหัว ส่วนคุณสมบัติสินค้าก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่

ฉะนั้น...
การทำให้โฆษณาของคุณมีความแต่งต่างจากคู่แข่ง อาจใช้อารมณ์ขันเข้าช่วย แต่ยังไงก็ตาม บางครั้งผู้ชมคนหนึ่งอาจมองว่าเป็นเรื่องตลก แต่อาจจะกลายเป็นเรื่องแป๊ก!! สำหรับผู้ชมอีกคนหนึ่งก็ได้ หากคุณต้องการวัดว่า แนวโน้มกลุ่มผู้ชม จะชอบโฆษณาแบบไหนมากกว่ากัน  ลองใช้วิธีการ ทดสอบโฆษณาแบบ A/B คือหยิบมาทดสอบโฆษณาทั้งคู่ อาจจะวัดโดยใช้ กลุ่มเป้าหมายเดียวกัน แต่ต่างกันที่ข้อความโฆษณา หรือเปลี่ยนภาพประกอบ หรือเปลี่ยนพาดหัว  หรือเปลี่ยนคำบรรยาย   เพื่อดูจุดแตกต่าง
หมายเหตุ
โปรดอย่าลืม  ใส่ใจเรื่องข้อเท็จจริงในการทำโฆษณา เพราะหากบิดเบือนไป อาจส่งผลเสียกับโฆษณาของคุณ หรือสินค้า/บริการของคุณได้เช่นกัน

5. อ้างอิงตัวเลข หรือ สถิติ

มีผู้คนไม่น้อยที่สะดุดกับข้อความโฆษณา ที่อ้างอิงด้วยตัวเลข หรือสถิติ  มันอาจจะไม่ได้น่าสนใจเท่ากับการใช้พาดหัวที่ บอกถึงการแก้ปัญหาอย่างที่กล่าวมา แต่มันก็ทำให้ผลลัพธ์ของการดำเนินการ หรือการพรีเซ้นต์สินค้า/บริการคุณ ชัดเจนมากขึ้น

6. การใช้ภาษาง่ายๆ

มีคำกล่าวหนึ่งกล่าวไว้ว่า "ถึงแม้คนเราจะใช้เหตุผลในการเลือก หรือตัดสินใจ แต่มีผู้คนไม่น้อยที่พ่ายแพ้ให้กับความรู้สึก ของตัวเอง" เพราะฉะนั้น การใช้ภาษาโฆษณาก็เช่นกัน
"จงเล่นกับการแก้ปัญหา และจงกระตุ้นอารมณ์ด้วยภาษาที่เข้าถึงความรู้สึกผู้ชม"

เอาง่ายๆคือ  "เลี่ยงภาษาทางการ ที่อ่านแล้วเข้าใจยากได้จะดี  แต่ถ้าคุณบอกว่า คุณอ่านแล้วไม่ งง
งั้นคุณก็ต้องกลับไปย้อนถามตัวเองว่า กลุ่มเป้าหมายคุณคือใคร - รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายคุณ เป็นแบบเดียวกับคุณรึเปล่า....อย่าลืมนะคะว่า "เราทำสินค้า/บริการให้เขาใช้ ไม่ใช่เราเอามาใช้เอง
การเขียนโฆษณา หรือทำภาพโฆษณา ก็เช่นกัน  เราไม่ได้เขียน ให้เราเอาไว้อ่านเอง
เพราะฉะนั้น...อย่าเอาอารมณ์ตัวเองเป็นใหญ่

7. ใช้ประโยชน์จากการกำหนดจำนวนอักขระหรือตัวอักษร

อันนี้ความหมายตรงๆเลยคือ  "กันการใส่น้ำเยอะ" ข้อความโฆษณาขอเนื้อๆ ไม่ต้องสาธยายมาก ถ้ากลัวใจตัวเองก็กำหนดไว้เลย เช่น ตัวอักษรทั้งหมดไม่เกิน 70 ตัว จำกัดเต็มที่ 50 ตัว เป็นต้น

8. หมกหมุ่นกับจำนวนคำมากเกินเหตุ

สืบเนื่องจากข้อที่แล้ว
ตัวอย่างข้อความโฆษณา  จำนวนอักขระ ได้แค่นี้
>>   70 ทั้งร้าน วันนี้ ถึง 30 ม.ค. 62 <<
**ข้อความนี้ค่อนข้างแย่มากตรงที่ ผู้ที่ผ่านไปมาอาจไม่รู้เลยว่า 70 นี่คือ 70% หรือ 70฿
Guide : ดูซิว่า อะไรที่ตัดแล้วความหมายไม่เปลี่ยน ...ให้ตัดตรงนั้นออก  เช่น
>>   70% ทั้งร้าน วันนี้-30 ม.ค. 62 << หรือ
>>   ลด70% ทั้งร้าน - 30 ม.ค.นี้<<
เป็นต้น